เกร็ดความรู้











Cnc คืออะไร?

CNC=Computer Numerical Control
                เป็นเครื่องจักรกลอัติโนมัติที่ทำงานโดยการโปรแกรมเข้าไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะให้มันทำงานตามแบบที่เราโปรแกรมเข้าไป มีหลายภาษาที่ใช้กับเครื่อง โดยมากจะเป็นงานโลหะที่มีความซับซ้อนและต้องการความแม่นยำสูง โดยที่การหล่อไม่สามารถทำได้หรือสามารถทำได้ก็ตาม
                เครื่องจักรกลพื้นฐานเช่น เครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องเจียรนัย และเครื่องตัดโลหะแผ่นเป็นเครื่องจักรกลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร เครื่องยนต์ และแม่พิมพ์ ตลอดจนหน่วยงานสร้าง ซ่อมงานโลหะโดยทั่วไป และอาจกล่าวได้ว่าความก้าวหน้าของเครื่องจักรกลประสิทธิภาพสูงหลายประเภทในยุคปัจจุบันล้วนแต่มีรากฐานมาจากเครื่องจักรพื้นฐานเหล่านี้ทั้งสิ้น รูปที่ 1 แสดงการทำงานของเครื่องกลึงที่ใช้แรงงานคนในการหมุนเกลียวขับเพื่อป้อนมีดกลึงเข้าหาชิ้นงาน ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องกลึงหรือเครื่องจักรกลพื้นฐานอื่นๆ จะต้องมีทักษะและความชำนาญในการหมุนเกลียวขับที่ใช้ในการป้อนอุปกรณ์ตัดเข้าหาชิ้นงานเป็นอย่างดี แต่ถึงกระนั้นพบได้บ่อยว่าผู้ปฏิบัติงานต้องใช้เวลามากในการผลิตชิ้นงานที่มีความละเอียดสูง เนื่องจากข้อจำกัดด้านการมองเห็นของผู้ปฏิบัติงาน และความคลาดเคลื่อนเนื่องจากการวัดที่ต้องทำบ่อยครั้ง ในบางครั้งยังพบว่าชิ้นงานที่ได้มีความคลาดเคลื่อนทางขนาดเกินกว่าที่จะยอมรับได้
                ระบบ CNC (Computer Numerical Control) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อเปลี่ยนแปลงและควบคุมสภาพการทำงานของเครื่องจักรกลพื้นฐานดังกล่าวจากเดิมซึ่งใช้แรงงานคนในการทำงานร่วมกับเครื่องจักร ให้เครื่องจักรเหล่านี้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ระบบ CNC ยังช่วยเพิ่มความสามารถให้เครื่องจักรพื้นฐานเหล่านี้สามารถทำงานลักษณะซับซ้อนได้ด้วยความรวดเร็วและแม่นยำในระดับที่พ้นความสามารถในการรับรู้ของมนุษย์โดยทั่วไปหลายสิบเท่าตัว สำหรับการประยุกต์ใช้ระบบ CNC ในเครื่องจักรพื้นฐานดังกล่าว ระบบ CNC จะประกอบไปด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าจำนวนหนึ่งซึ่งถูกนำไปใช้ในการหมุนเกลียวขับแทนมือคน และระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ในการควบคุมมุมและความเร็วที่มอเตอร์ไฟฟ้าเหล่านั้นหมุนเกลียวขับ โดยระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวสามารถควบคุมมุมของมอเตอร์ได้ด้วยความละเอียดถึง 0.1 องศาหรือดีกว่า หรือสามารถให้ความละเอียดในการป้อนอุปกรณ์ตัดเข้าสู่ชิ้นงานสูงถึง 0.02 มม หรือดีกว่า
                ในปัจจุบัน มีการใช้ระบบ CNC สำหรับเครื่องจักรพื้นฐานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ แม่พิมพ์ และในหน่วยงานสร้าง ซ่อมอย่างแพร่หลาย หากประมาณคร่าวๆ มูลค่าเบื้องต้นของระบบ CNC ในอุตสาหกรรมเหล่านี้อยู่ในระดับหลายพันล้านบาท ในทางปฏิบัติระบบ CNC ดังกล่าวและผู้เชี่ยวชาญในระบบดังกล่าวถูกนำเข้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน และ ญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจาก CNC ดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีระดับสูงที่ยากต่อการออกแบบและการทำความเข้าใจจนสามารถนำมาใช้งานได้จริง อย่างไรก็ตาม ดร.พินิจ งามสม ได้ใช้เวลากว่า 4 ปีในการวิจัย ออกแบบ และพัฒนา จนประสบผลสำเร็จในการสร้างระบบ CNC ที่ใช้งานได้จริง โดยงานวิจัยที่เป็นรากฐานของผลงานนี้ได้รับการพิจารณาให้เป็นบทความดีเด่นสาขา Dynamics, Systems, and Control ในการประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2545 และได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับสากลที่มีความแข็งแกร่งทางวิชาการมากที่สุดเล่มหนึ่ง คือ Journal of Dynamic System, Measurement, and Control โดย American Society of Mechanical Engineers ในปี พ.ศ. 2546
                ระบบ CNC ที่สร้างขึ้นนี้สามารถควบคุมมุม ความเร็ว และแรงบิดในการหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้าภายใต้ความไม่แน่นอนของภาระงานและคุณสมบัติภายในได้ 4 ตัวพร้อมกัน (ขยายได้เป็น 8 ตัวเพื่อการควบคุมแขนกลลักษณะต่างๆ) โดยใช้มาตรฐานรหัส G และ M ในการสั่งการ ระบบสามารถแสดงความก้าวหน้าของการทำงานได้ทั้งในเชิงต้วเลขและเชิงรูปภาพบนจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนพารามิเตอร์ของระบบควบคุมให้เข้ากับการใช้งานควบคุมเครื่องจักรได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เครื่องกัด, เครื่องกลึง, แขนกล, เครื่องตัดพลาสม่า, เครื่องลอกพื้นผิว, และเครื่องพับโลหะ เป็นต้น ในการทดสอบ ระบบ CNC ที่สร้างขึ้น ถูกนำไปใช้ในการควบคุมเครื่องกัดที่ทำงานในสามมิติโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงจำนวน 4 ตัว ซึ่งในจำนวนนี้ มอเตอร์ 3 ตัวถูกใช้ไปในการป้อนชิ้นงานและดอกกัดในแนว X, Y, และ Z ส่วนมอเตอร์อีกหนึ่งตัวใช้ในการหมุนดอกกัดชิ้นงาน ระบบ CNC ที่ออกแบบและสร้างขึ้นนี้สามารถควบคุมให้เครื่องกัดทำงานได้โดยอัตโนมัติตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ ด้วยความละเอียด 0.02 มม (ถูกจำกัดด้วยระยะคลอนของเกลียวขับที่ใช้อยู่) หลังจากการพัฒนาระบบ CNC ต้นแบบเสร็จสิ้นลง ในปัจจุบันระบบ CNC ดังกล่าวมีต้นทุนในการสร้างประมาณ 60,000 บาทต่อเครื่อง
                     ข้อดีของ เครื่องจักรกล CNC
1. มีความแม่นยำสูงในการปฏิบัติงาน เพราะชิ้นงานทุกชิ้นต้องการขนาดที่แน่นอน
2. ชิ้นงานทุกชิ้นมีคุณภาพสม่ำเสมอเท่ากันหมด เนื่องจากผลิตโดยใช้โปรแกรมในการควบคุมการทำ งานของเครื่องจักร CNC
3. โอกาสเกิดความเสียหายต่อชิ้นงานหรือต้องแก้ไขชิ้นงานจะน้อยหรือแทบจะไม่มีเลย เพราะชิ้นงานที่ทำจะใช้โปรแกรม ในการควบคุมถ้าเกิดปัญหาข้อผิดพลาดก็จะแก้ไขได้ที่ตัวโปรแกรม
4. สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่ต้องหยุดพักเครื่องแต่ต้องมีผู้ควบคุมประจำเครื่อง CNC
เครื่องจักร ซีเอ็นซี
5. มีความรวดเร็วสูงในการผลิตทำให้ได้ผลผลิตสูง และสามารถกำหนดระยะเวลาในการผลิตชิ้นงาน ได้ว่าใช้เวลาในการทำงานเท่าไร
6. สามารถคาดคะแนและวางแผนการผลิตได้อย่างแม่นยำ เพราะรู้ระยะเวลาในการผลิต สามารถกำหนดหรือส่งสินค้าได้ตรงตามวันและเวลา
7. สามารถสลับเปลี่ยนรูปแบบของชิ้นงานได้หลากหลายรูปแบ เนื่องจากสะดวกและรวดเร็วในการทำ งานเพราะใช้โปรมแกรมในการสั่งงาน
8. เมื่อเปรียบเทียบจำนวนผลผลิตที่เท่ากัน เครื่องจักรกล ซีเอ็นซี ใช้พื้นที่น้อยกว่าและลดพื้นที่การจัด เก็บชิ้นงาน
9. มีความสะดวกและรวดเร็ว สำหรับใช้ในการผลิตชิ้นงานต้นแบบที่มีการแก้ไขบ่อย ๆ เพราะเวลาแก้ไขสามารถแก้ไขได้ที่โปรแกรม
10. ชิ้นงานที่มีความซับซ้อนสูงและมีหลายขั้นตอนในการผลิต สามารถใช้เครื่องจักรกล ซีเอ็นซี เพียงเครื่องเดียวในการผลิต ทำให้ไม่เสียเวลา
11. ลดขั้นตอนในการตรวจสอบคุณภาพลงเพราชิ้นงานนั้นจะได้ขนาดเท่ากันทุกชิ้น แต่ควรที่จะกำหนดค่าของความเร็วรอบที่จะใช้, ความเร็วในการตัดตัด ให้เหมาะสมเพื่อลดอายุการใช้งานของทูล
12. ทำให้สามารถใช้ ทูล หรือ เครื่องมือตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะต้องคำนวณค่าต่าง ๆ มา ก่อนลงมือปฏิบัติงานกับเครื่องจักร CNC
13. ลดแรงงานในสายการผลิตลงเนื่องจาก ผู้ควบคุมเครื่อง 1 คน สามารถคุมได้ 3 -4 เครื่อง
14. ใช้อุปกรณ์เสริมน้อย แต่ผู้ใช้จะต้องเข้าใจโปรแกรมในการสั่งงาน
                 ข้อเสียของเครื่อง CNC   
1. เครื่อง CNC มีราคาแพงมากเพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศเนื่องจากยังไม่มีการผลิตเครื่องจักร CNC ภายในประเทศ
2. ค่าบำรุงซ่อมแซมค่อนข้างสูง การซ่อมแซมมีความซับซ้อนอยู่มาก เพราะทั้ง ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และ ซอฟต์แวร์ (Software) รวมถึงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็คโทรนิกส์ ต้องใช้ช่างผู้ชำนาญการในการซ่อมแซม
3. อุปกรณ์และซอฟต์แวร์เสริม (Option) มีราคาสูงและต้องได้มาจากผู้ผลิตเครื่องจักรกล CNC นั้นๆ เท่านั้น
ต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิชาคณิตศาสตร์มากพอสมควรสำหรับใช้ในการเขียนโปรแกรม เพราะมิฉะนั้นจะไม่สามารถคำนวณหาค่าของจุดต่างๆได้
4. ต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิชาคณิตศาสตร์มากพอสมควรสำหรับใช้ในการเขียนโปรแกรมเพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้ไม่สามารถคำนวณหาค่าของจุดต่าง ๆ ได้เลย
5. ต้องมีพื้นที่ในการทำงานที่กว้างพอสมควรและยังรวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้แก่ผู้เขียนโปรแกรม NC
6. ต้องหางานป้อนให้เครื่องทำงานประจำอย่างสม่ำเสมอไม่ควรให้หยุดนิ่งเพราะอาจจะทำให้ชิ้นส่วนบางอย่างเสื่อมสภาพและเครื่องจักรจะได้ (Run) เครื่องเตรียมพร้อมตลอดเวลา
7. ไม่เหมาะสมกับการผลิตชิ้นงานจำนวนน้อย ๆ ควรใช้กับผลิตชิ้นงานจำนวนมาก ๆ เพราะจะไม่ต้องเสียค่าใช้สูงในจ้างพนักงาน
8. ค่าซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรสูงมาก ๆ เพราะต้องใช้ช่างผู้ชำนาญเฉพาะทางในการซ่อมแซม
9. ชิ้นส่วนอะไหล่ถ้าเกิดการชำรุดหรือเสียหายในบางกรณี ต้องรอส่งมาจากต่างประเทศอย่างเดียวเนื่องจากไม่ได้ผลิตในประเทศ
10. คอนโทรลเลอร์ เป็นภาษาอังกฤษ ช่างต้องเรียนรู้และมีการฝึกอบรมการใช้เครื่องและการเขียนโปรแกรมก่อนเริ่มใช้เครื่องเพราะไม่เช่นนั้นจะใช้เครื่องไม่เป็น







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น